วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทริคเล็กๆน้อยสำหรับปังย่า นะครับ

ก่อนอื่นเลยขอแนะนำตัว ผมชื่อ ดรีมครับ สมาิชิกปังย่า DMAX
บันทึกทันที
   วันนี้ผมจะมาสอนวิธีใช้ C 264 ลองเอาไปใช้กันดูครับ
เพื่อให้การเล่น มีความสนุกสนาน ยิ่งขึ้น และท่านที่ฝึกใหม่ ต้องการเล่น แบบพอมีแนวทาง (ไม่มั่ว) และมีกลุ่มเพื่อนที่เคยเล่นด้วยกันที่ต้องการศึกษาวิธีคิดตามสไตล์ของผม แต่สำหรับท่านที่เก่งอยู่แล้วก็ขอยกไว้ 
ก่อนอื่นขอสอนพื้นฐาน ท่านที่ยังไม่มีแนวทาง ตามความเข้าใจของผมก่อนละกัน เอาแบบเข้าใจกันง่ายไม่ว่าท่านจะเรียนสายไหนมาก็ตาม 
สูตรการคิดช่องสำหรับพื้นฐานสำหรับทุกท่าตี คือ 

ช่อง = C x ลม x sin(องศา) ; เมื่อ C คือค่าคงที่ ที่แปรผันตามระยะตีสำหรับความยาวไม้ที่ท่านใช้ 

*วิธีการคิดค่า C ของท่าตีต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป ตีโท น้อยหน่อย สไปค์มากนิด สปินมากหน่อย 

*ถ้าจะให้แม่นจริงๆ จะต้องหาค่า C ที่สัมพันธ์กับแรงตีโดยตรง แต่มันจะ + เลขกันเยอะไปหน่อย และการหาแรงตีที่เหมะสมกับระยะต่างๆ และลักษณะจุดวางลูก นั้น ยากพอควร ดังนั้นการให้ไลน์ ยังต้องอาศัยประสบการณ์เสริม 
โดยหลักการ ค่า C จะสูงขึ้น เรื่อยๆ ตามระยะตีหรือ แรงตีที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเจอลม 9 ขวาง ที่ระยะ 200 หลา จะให้ช่องน้อยกว่า ที่ระยะ 210 โดยการให้ช่องมากที่สุดก็เมื่อตีเต็มแม๊กซ์ 
ทำไมต้องมี Sin(องศาลม) Sin, การแตกแรง, เวคเตอร์ มีเว็บสำหรับศึกษามากมายสามารถเสิจ ดูได้ 
โดยหลักการของ sin คือ การคิดค่าลมที่มันเอียง ว่ามีผลด้านข้างมากน้อยแค่ไหน เอียงมากน้อย ต่างกันไป (เนื่องจากการคิดช่องเราจะเอาเฉพาะแรงลมแนวขวางมาคิด) เช่น เมื่อเราเจอลมที่มันเอียง เช่น ลม 9 เอียง 45 องศา จะมีผลด้านข้าง เท่ากับ 9 *0.71 = 6.4 ; (sin45 = 0.71) แล้ว จึงมาคูณกับค่า C (ช่อง = C x 6.4) แต่ถ้า เจอลม 9 ขวาง (90 องศา ,sin90 = 1) เราก็เอา 9 ไปเข้าสูตรได้เลย เพราะมันขวางเต็มที่ (จับคูณกับค่า C ได้เลย ช่อง = C x 9 )
* ของแถม ประมาณ ค่า C หลุม โฮ ต่างๆ (โทมาฮอล์ค ง่ายสุด) ซึ่ง กรณีนี้ ค่า C ที่หาได้ตรงที่สุด คือกรณีที่ลมแรงๆ ขวางๆ (ใกล้ 90 องศา) ซึ้งไม้ยาวต่างกัน จะได้ค่า C ที่ต่างกันไป ยาวมาก C ก็จะน้อยลง.......วิธีการคือ ยกเป็นตัวอย่าง เลย อย่างหลุม 2 บูลากูล หลุม 231 เจอลม 9 องศา 80 เริ่มด้วยการใช้ช่อง โดยประมาณ ตามความชอบก่อน แต่จะต้อง นับด้วยว่าให้ไปเท่าไหร่ เมื่อท่าน ตีไปแล้ว พลาด ไปกี่ ช่อง ก็เอามาหักลบ หาช่องที่มันควรลง แล้วนำมาเข้าสูตร เพื่อหาค่า C ย้อนกลับ ช่องที่ควรลง (รู้แล้ว) = C x 9 x sin (80) แก้สมการ หา C ออกมา จดไว้เลย ของหลุมนั้น ต่อไป หลุมนั้น ถ้าเจอลมอื่น องศา อื่น ท่านก็เอา C เดิม ไปเข้าสูตรได้เลย (ลงมันทุกรอบ) ผิดพลาดเล็กน้อย ก็เอาประสบการณ์เข้าไปเสริมหน่อย 
ตารางวิธีการคำนวณที่ลง ไว้ มี สำหรับ ไม้ 250, 260 และ 264 ที่นิยมกันในปัจจุบัน การคำนวณตามวิธีในตาราง ยังต้องอาศัยประสบการเสริม เช่น หากลูกวางบนรัฟ ซึ่งเราจะต้องเพิ่มแรงตี ไลน์ ก็จะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย รักชอบที่จะเพิ่มเท่าไหร่ก็ 0.1 0.2 0.3 0.4 ตามความชอบแล้วแต่แรงลม ......กรณี เจอลมเอียงทั้ง ลมส่ง ลมต้าน อันมีผลให้แรงตี ลดลง หรือ เพิ่มขึ้นเนื่องจาก แรงลม ( ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับระยะหลุม ) ก็ลดๆ เผื่อๆ เอาเอง 
* สิ่งสำคัญ คือ กรณีที่เจอ ลูกเอียงกรีนเอียง.....แล้วทำให้เราพลาด ให้ถือว่า เราให้กรีนเอียง หรือลูกเอียงผิด ไว้ก่อน คราวต่อไปเราก็เผื่อ จากความผิดพลาดนั้นเอา เพราะถ้าคิดว่าให้ไลน์ ผิด ท่านจะไม่สามารถ สรุปได้เลยว่ากรีนมันเอียงเท่าไหร่กันแน่ แล้วท่านก็จะให้ มั่วไปตลอด 



นี่คือ C 264 นะครับ


และ อีก 1 ทริค สำหรับ การนับช่อง ครับ (สำหรับคนที่กะช่องแล้วไม่ถนัด) ลองดูภาพนะครับ
เครดิตรูป ผูก่อการร๊ากก
งงใช้ มั้ย ครับ ว่ามันคืออะไร มันคือการนับช่อง แบบ PB แล้ว PB คืออะไร ? 
PB คือการนับช่องโดยใช้แถบของปังย่าหรือพาวเวอร์ของปังย่า สังเกตุดูดีๆว่าจะมี 10 ขีด แล้ว 10 ขีดเท่ากับเท่าไหร่
10 ขีดเท่ากับ 1 โล ครับ 555+    10 ขีดเท่ากับ 2.2 ช่อง  แล้วถ้าเราหาช่องได้แล้ว อยากนำเป็น PB ทำไง ?
ง่ายๆ เลยครับ ให้ เรานำ 0.216 หาร ช่อง ก็จะได้ เป็น PBแสดงตัวอย่าง


ตัวอย่าง
1 ช่อง นำ 0.216 หาร   1/0.216 = 4.6296 ให้ นับ 4.6296 PB ครับ


อืม พอรู้วิธีกันบ้างแล้วมาดูวิธีดูองศากันบ้างนะครับ




จบแล้วนะครับสำหรับการคำนวนและการนับช่อง ใครเจอผมในเกมส์ก็ทักบ้างนะครับ  แล้วสำหรับใครที่จะคัดลอกบทความ ขอเดรดิตด้วยนะครับ  BY...เฮียดรีม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น